ตลอดชีวิตกับการต่อสู้ทางสังคม "สิทธิมนุษยชน" และพระพุทธศาสนา !!

การต่อสู้เพื่อศาสนา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

ดร. บาบาสาเหบ อัมเบดการ์ (Babasaheb Ambedgar) มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นผู้นำชาวฮินดู กว่า 6 แสนคน ให้เปลี่ยนมานับถือพระรัตนตรัยและรับศีลห้า 

ดร.เอมเบดการ์
ดร.เอมเบดการ์ (Dr.B.R. Ambedkar) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2434 

ดร.เอมเบดการ์ เป็นนักคิด นักการเมือง นักสิทธิมนุษยชน และรัฐบุรุษของอินเดียอีกท่านหนึ่ง 

เป็นผู้มีชีวิตต่อสู้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าท่านมหาตม คานธี

ท่านมหาตม คานธี

  ดร.เอมเบดการ์ กำเนิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ “อัมพาวดี อ.รัตนคีรี รัฐมหาราษฎร์ (บอมเบย์) อินเดีย มีชีวิตต้องต่อสู้มาตลอด !

  ต่อสู้กับการเหยียดหยาบของสังคม ต่อสู้เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย จนกระทั้งสู้เพื่อยกฐานะของหมู่ชนจัณฑาลให้มีสถานภาพเทียมบ่าเทียมไหล่กับบุคคลในวรรณอื่นในประเทศของตนที่สังคมยอมรับ


  ดร.เอมเบดการ์ เป็นนักปรัชญาและรัฐบุรุษของอินเดีย ซึ่งมีแนวความคิดแบบอหิงสา เช่นเดียวกับท่านมหาตมคานธี

  ท่านเป็นผู้ที่เข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ท่านได้ต่อสู้เพื่อศาสนา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของบุคคลในวรรณะจัณฑาล จนสำเร็จ

 ท่านได้ยกย่องพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาที่ "สร้างสันติภาพให้แก่โลก"

  เพราะมีหลักแห่งความเสมอภาค ภราดรภาพ พระพุทธศาสนาตีค่าของมนุษย์เสมอเหมือนกัน ชาติ ตระกูล ยศศักดิ์ ไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์หรืออภิสิทธิ์แต่อย่างใด พระพุทธศาสนาถือความประพฤติเป็นสำคัญ ผู้มีความประพฤติดี แม้เทวดาก็ยังต้องกราบไหว้ ขอให้ดูพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง

  ได้เป็นที่พยายามที่จะยกระบบทางสังคมของอินเดีย โดยเฉพาะเรื่องชนชั้นให้เจริญกว่าเดิม 


   จึงได้ประกาศที่จะลบล้างลัทธิการถือชั้นวรรณะ ให้หมดไปจาก ชาวอินเดีย 

   และได้เล็งเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะดียิ่งไปกว่าหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่จะสามารถลบล้างระบบการถือชั้นวรรณะนี้ให้หมดไปจากชาวอินเดียได้ 

   จึงได้ตัดสินใจปฏิญาณตนเป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ที่เมืองนาคปูระ แคว้นบอมเบย์ พร้อมด้วยชาวศูทร จำนวนห้าแสนคน นับว่าเป็นพิธีหรือเหตุการณ์ที่ควรจะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา


 ฯพณฯ ท่านเนรูห์ นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.เอมเบดการ์

“ชื่อเอมเบดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความยุติธรรมในสังคมฮินดู เอมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องต่อสู้ เอมเบดการ์ ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูตื่นจากหลับ”

  ชีวิตของ ดร.เอมเบดการ์ ดุจดอกบัวที่เกิดจากโคลนตมแต่สีและกลิ่นวิเศษ ยิ่งนัก ผิดจากสีและกลิ่นของโคลนตม ดอกบัวเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย

   ดร. บาบาสาเหบ อัมเบดการ์ (Babasaheb Ambedgar) มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นผู้นำชาวฮินดู วรรณะจัณฑาลกว่า 6 แสนคน ให้เปลี่ยนมานับถือพระรัตนตรัยและรับศีลห้า เมื่อวันที่ 14 เดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1956 ณ เมืองนาคปูร์ 

   กลายเป็นเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ เพราะถือเป็นการปลดแอกระบบวรรณะที่เป็นความอยุติธรรมทางสังคมของอินเดีย

  ล่าสุดเมื่อวันที่15 มีนาคม 2559 ชาวฮินดูซึ่งมาจากวรรณะชั้นล่าง กว่า 300 คน ทำพิธีเปลี่ยนมารับนับถือพระพุทธศาสนา ณ พุทธคยา พุทธสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธในรัฐพิหาร 



    ชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาทั้งหมดนี้ มาจากเขตเอารังคาบาท และชะหานาบาท ในรัฐพิหาร บางส่วนมาจากเมืองนาคปูร์ และเมืองสาตารา ในรัฐมหาราษฎร์ รวมถึงเมืองชะบัลปูร์ และเมืองเรวา ในรัฐมัธยะประเทศ

   พิธีดังกล่าวจัดขึ้น ณ วิหารของวัดพม่าภายในพุทธคยา โดยมีพระจันทรมุนี ชาวพม่า นำประกอบพิธีทีกฺษา (Deeksha; दीक्षा) หรือพิธี "บวชเป็นชาวพุทธ" (ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ) ตามแบบอย่างของ ดร. บาอัมเบดการ์ 

   ผู้คนส่วนใหญ่ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นต่างกล่าวว่า "พวกเขาต้องการเปลี่ยนศาสนาเพื่อกำจัดการกีดกันทางชนชั้นและการถูกมองว่าเป็นวรรณะชั้นต่ำ"

   การเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธในอินเดียนั้น ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ อย่างเมื่อต้นปี 2015 ที่ผ่านมา ก็มีชาวฮินดูราว 1,700 คนมาร่วมประกอบพิธีเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาที่พุทธคยา แคว้นพิหารเช่นกัน

  แม้การเปลี่ยนความเชื่อนี้ โดยหลักจะมาจากแรงกดดันทางชั้นวรรณะ แต่อย่างไรก็ดี การตัดสินใจเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก และถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีต่อตนเอง ครอบครัว และลูกหลานที่จะเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ในภายภาคเบื้องหน้า

แหล่งข่าว:
http://www.daijiworld.com/news/news_disp.asp?n_id=385176
ภาพ: พิธีรับพระพุทธศาสนาในปีก่อนๆ (เนื่องจากแหล่งข่าวไม่ได้มีภาพมาด้วย)
แปลและเรียบเรียง: ทิพย์ปัญญา 释聖達 @Wat_Benelux
และขอขอบคุณข้อมูลจากเวปไซต์พันทิป
ตลอดชีวิตกับการต่อสู้ทางสังคม "สิทธิมนุษยชน" และพระพุทธศาสนา !! ตลอดชีวิตกับการต่อสู้ทางสังคม "สิทธิมนุษยชน" และพระพุทธศาสนา !! Reviewed by Unknown on 02:03 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.